Ads 468x60px

Subscribe:

Social Icons

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบการแสดงชิ้นงานบนจอภาพ

          ในบางครั้งหากเราต้องการแสดงชิ้นงานที่สร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกัน เช่นต้องการใช้ชิ้นงานที่โปร่งใสเพื่อดูองค์ประกอบด้านใน หรือต้องการแสดงเฉพาะโครงสร้างเพื่อให้เห็นการออกแบบโครงสร้างที่ชัดเจน หรือเน้นเส้นขอบให้เข้มขึ้นเพื่อเน้นส่วนประกอบนั้น เนื่องจาก Google SketchUp มี 2 รูปแบบในการแสดงผล คือ พื้นผิว (Face) และเส้นขอบ (Edge) จีงสามารถปรับปรุงรูปแบบการแสดงชิ้นงานได้ 2 แบบคือ
  • รูปแบบการแสดงพื้นผิวระนาบ (Face Style)
  • รูปแบบการแสดงเส้นขอบ (Edge Style)

รูปแบบการแสดงพื้นผิว (Face Style)
          เราสามารถปรับรูปแบบการแสดงชิ้นงานได้จากกลุ่มเครื่องมือ Style ในเมนูบาร์ เรียกใช้งานได้จากคำสั้ง View ---> Toolbars ---> Style นอกจากนี้ยังเรียกใช้ผ่านคำสั่ง View ---> FaeStyle ได้อีกด้วย โดยมีวิธีการปรับแต่งใช้งานมีดังนี้


  • X-ray : การแสดงชิ้นงานในรูปแบบโปร่งใส มองทะลุเข้าไปด้านในได้

  • Back Edges : แสดงชิ้นงานให้เห็นเส้นโครงสร้าง ด้านหลังด้วย เมื่อซูมใกล้จะเห็นได้ชัดเจน

  • Wireframe : แสดงชิ้นงานเฉพาะเส้นขอบเป็นโครงสร้าง

  • Hidden Line : แสดงชิ้นงานแบบไม่แสดงสีหรือพื้นผิวใดๆ บนชิ้นงาน

  • Shadded : แสดงชิ้นงานโดยใส่สีพื้นผิวชิ้นงาน 

  • Shaded with textures : แสดงชิ้นงานแบบแสดงสีและพื้นผิวบนชิ้นงาน  ส่วนใหญ่ในการสร้างโมเดลจะใช้ Style นี้เป็นหลัก

  • Monochrome : แสดงชิ้นงานตามสีพื้นฐานของโปรแกรม

Tips :

          การแสดงพื้นผิวแบบ X-Ray สามารถทำงานควบคู่กับการแสดงชิ้นงานในรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าขณะนั้นเราทำงานกับการแสดงรูปแบบใด จึงทำให้เราเห็นพื้นผิวของชิ้นงานและโปร่งใส ทำให้สะดวกในการออกแบบมากขึ้น ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ดังภาพ



รูปแบบการแสดงเส้นขอบ (Edge Style)

          นอกจากกลุ่มเครื่องมือ Face Style เรายังสามารถแสดงชิ้นงาน โดยเน้นการแสดงผลที่เส้นขอบของชิ้นงาน โดยใช้คำสั่ง View ---> Edge Style  การแสดงเส้นของที่ต้องการ ดังนี้


  • Display Edges : เป็นการกำหนดให้แสดงเส้นขอบ

  • Profiles : เน้นการแสดงด้านในตัวชิ้นงาน

  • Depth Cue : เน้นเส้นขอบที่อยู่ด้านนอกของชิ้นงาน

  • Extension : ขยายเส้นขอบให้เลยออกมานอกชิ้นงาน นิยมใช้ในการออกแบบบ้าน อาคาร เป็นลายเส้นสเก็ตช์


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น